โพสต์แนะนำ

เตรียมตัวก่อนเข้าเรียนบัญชี

        เตรียมตัวก่อนเข้าเรียนบัญชี      ถ้าเราเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญแล้วอยากเรียนต่อระดับปริณญาตรีสาขาวิชาการบัญชี แต่กลัวเรีย...

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

"เน็ตไอดอล" ทั้งหลาย...มีเงินได้เสียภาษีเงินได้อย่างไร

"เน็ตไอดอล" ทั้งหลาย...มีเงินได้เสียภาษีเงินได้อย่างไร มาดูกัน*********
Cr. ภาพจาก : เว็บไซต์กรมสรรพากร
รายได้จากการโชว์หรือ แสดงตัว กรณีนับเป็นรายได้แบบ 40 (2) กรณีไหนเป็นแบบ 40 (8) มาดู

นักแสดงสาธารณะ

เงินได้ของนักแสดงสาธารณะ มาจากการทำหน้าที่นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม *1 ซึ่งถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8

การหักค่าใช้จ่าย

เงินได้ของนักแสดงสาธารณะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ
  • หักตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) หรือ
  • หักเหมา 40-60% (ไม่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย)

ซึ่งการหักใช้จ่ายแบบเหมาแบ่งตามลำดับดังนี้

แต่เมื่อรวมค่าใช้จ่ายแบบเหมาทั้งหมดต้องไม่เกิน 600,000 บาท
นั่นหมายความว่าทันทีที่มีรายได้จากนักแสดงสาธารณะเกิน 1,350,000 บาทจะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้มากกว่า 600,000 บาท อีกแล้ว

อะไรเรียกว่านักแสดงสาธารณะได้บ้าง?

นักแสดงสาธารณะ ไม่ได้หมายถึงนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ หรือโทรทัศน์เท่านั้น ยังหมายความถึง นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม เช่น
  • นักแสดงละครเวที
  • ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์
  • นักแสดงตลก
  • นายแบบ นางแบบ
  • นักพูดรายการทอล์คโชว์
  • นักมวยอาชีพ
  • นักฟุตบอลอาชีพ
ซึ่งโดยมากรวมถึงการออกงานโชว์ตัวต่างๆ ที่ถูกหักภาษี 5% ตอนรับเงิน

อะไรบ้างไม่นับว่าเป็นนักแสดงสาธารณะ?

นักแสดงสาธารณะจะไม่รวมถึง ผู้ประกาศข่าว โฆษก พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการในสถานบันเทิงใดๆ ผู้บรรยายหรือนักพากย์ ผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดงสาธารณะ ผู้กำกับการแสดง ผู้จัดการทีมกีฬา ผู้ฝึกสอนนักกีฬา หรือ บุคคลที่ทำหน้าที่ทำนองเดียวกัน
นอกจากนี้เงินได้จากการเป็นพิธีกรในการเปิดตัวสินค้าใหม่จากบริษัทห้างร้านต่างๆก็ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ของนักแสดงสาธารณะด้วย 
ทั้งนี้ รายได้ที่ไม่จัดว่าเป็นนักแสดงสาธารณะโดยปกติจะถือว่ามาจากการรับจ้างทั่วไปในฐานะเงินได้ประเภทที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น