โพสต์แนะนำ

เตรียมตัวก่อนเข้าเรียนบัญชี

        เตรียมตัวก่อนเข้าเรียนบัญชี      ถ้าเราเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญแล้วอยากเรียนต่อระดับปริณญาตรีสาขาวิชาการบัญชี แต่กลัวเรีย...

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 2 เดบิต เครดิต และการลงสมุดรายวัน

     เดบิต เครดิต

     ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า “เดบิต เครดิต” บทนี้เราจะมาพูดถึงหลักการของการลงบัญชี

เส้นทางการเดินของระบบบัญชี คือ

     เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลงรายวันกันก่อน
     ตัวอย่างสมุดทำการ
วัน/เดือน/ปี
รายการ
เลขที่บัญชี
เดบิต
เครดิต
จำนวน
จำนวน





















































































     หลักในการลงรายวัน
    สินทรัพย์ - เพิ่มข้างเดบิต
     หนี้สิน – เพิ่มข้างเครดิต
     ทุน – เพิ่มข้างเครดิต
     รายได้ – เพิ่มข้างเครดิต
     ค่าใช้จ่าย – เพิ่มข้างเดบิต
     และการบันทึกบัญชีข้างเดบิตและเครดิตต้องเท่ากัน
    งง ใช่ไหม?
    ยกตัวอย่างรายการที่จะบันทึกบัญชี
     1. เจ้าของกิจการนำสินทรัพย์มาลงทุนเป็นเงินสดมูลค่า 100,000 บาท ที่ดินมูลค่า 1,000,000 บาท อาคารมูลค่า 600,000 บาท 
      ตอบ: เรามาวิเคราะห์รายการที่จะบันทึกกันก่อน
-           เงินสดมูลค่า 100,000 บาท  (สินทรัพย์ – เพิ่มข้างเดบิต)
-           ที่ดินมูลค่า 1,000,000 บาท (สินทรัพย์ – เพิ่มข้างเดบิต)
-           อาคารมูลค่า 600,000 บาท (สินทรัพย์ – เพิ่มข้างเดบิต)
-           นำสินทรัพย์มาลงทุน (ทุน – เพิ่มข้างเครดิต)
     รายการที่บันทึกบัญชีลงสมุดรายวันจะเป็น
     
วัน/เดือน/ปี
รายการ
เลขที่บัญชี
เดบิต
เครดิต
จำนวน
จำนวน
1/1/2016
เงินสด
101
          100,000
    -  



ที่ดิน
102
  1,000,000.00
    -  



อาคาร
103
     600,000.00
    -  



     ทุน
301


     1,700,000
    -  

กิจการนำเงินสด ที่ดิน และอาคารมาลงทุน




(ข้อสังเกต: เมื่อบวกจำนวนเงินด้านเดบิตและเครดิตต้องเท่ากัน)
(เลขที่บัญชี: ตัวเลขตัวแรกของเลขที่บัญชีมาจากหมวดบัญชี)
      2.       ขายสินค้าเป็นเงินสด 10,000 บาท
ตอบ: เรามาวิเคราะห์รายการบัญชีที่จะบันทึก
-           ขายสินค้า – เป็นรายได้ (รายได้ – เพิ่มข้างเครดิต)
-           รับเงินสด – เป็นสินทรัพย์ (สินทรัพย์ – เพิ่มข้างเดบิต)
   รายการที่บันทึกบัญชีลงสมุดรายวันจะเป็น
วัน/เดือน/ปี
รายการ
เลขที่บัญชี
เดบิต
เครดิต
จำนวน
จำนวน
1/1/2016
เงินสด
101
            10,000
    -  



     รายได้จาการขาย
401


          10,000
    -  

ขายสินค้าเป็นเงินสด




             3.    ได้รับใบวางบิลค่าน้ำประปาเป็นจำนวน 1,000 บาท
ตอบ: เรามาวิเคราะห์รายการบัญชีที่จะบันทึก
-           ได้รับใบวางบิล – เป็นเจ้าหนี้ (หนี้สิน – เพิ่มข้างเครดิต)
-           ค่าน้ำประปา – เป็นค่าใช้จ่าย (ค่าใช้จ่าย – เพิ่มข้างเดบิต)
    รายการที่บันทึกบัญชีลงสมุดรายวันจะเป็น
วัน/เดือน/ปี
รายการ
เลขที่บัญชี
เดบิต
เครดิต
จำนวน
จำนวน
1/1/2016
ค่าน้ำประปา
501
              1,000
    -  



     เจ้าหนี้
201


            1,000
    -  

ได้รับใบวางบิลค่าน้ำประปา




                4.    จ่ายชำระหนี้ค่าน้ำประปาเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท
ตอบ: เรามาวิเคราะห์รายการบัญชีที่จะบันทึก
-           จ่ายหนี้ค่าน้ำประปา – เป็นหนี้สิน (หนี้สิน – ลดข้างเดบิต)
-           จ่ายเป็นเงินสด – เป็นสินทรัพย์ (สินทรัพย์ – ลดข้างเครดิต)
    รายการที่บันทึกบัญชีลงสมุดรายวันจะเป็น
วัน/เดือน/ปี
รายการ
เลขที่บัญชี
เดบิต
เครดิต
จำนวน
จำนวน
2/1/2016
เจ้าหนี้
201
              1,000
    -  



     เงินสด
101


            1,000
    -  

จ่ายชำระหนี้ค่าน้ำประปา



                เราลองมาทำโจทย์ยาว ๆ กันสัก 1 ข้อ เป็นการบันทึกบัญชีของรายการในรอบ 1 เดือน
     โจทย์ : จงบันทึกรายการบัญชีต่อไปนี้วงสมุดรายวัน
ม.ค. 2016
วันที่ 1 นาย ก. เปิดร้านบริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น  โดยนำเงินสด 50,000 บาท เงินฝากธนาคาร 40,000 บาท อาคาร 450,000 บาท อุปกรณ์การซ่อม 60,000 บาทและ เจ้าหนี้ 50,000 บาท มาลงทุน
วันที่ 5 ซื้ออุปกรณ์ในการซ่อมเป็นเงินเชื่อ จากร้านอิเล็กทริค 10,000 บาท
วันที่ 8 รับเงินค่าซ่อมโทรทัศน์ 5,000 บาท
วันที่ 11 จ่ายค่าเช่าอาคารเพิ่มเติมเนื่องจากพื้นที่คับแคบ 15,000 บาท
วันที่ 14 ซ่อมพัดลมให้โรงเรียนทัศนะ 40,000 บาท ยังไม่ได้รับเงิน
วันที่ 18 รับชำระหนี้จากโรงเรียนทัศนะตามรายการวันที่ 14 ม.ค.
วันที่ 20 จ่ายชำระหนี้ให้ร้านอิเล็กทริค 10,000 บาท
วันที่ 25 กู้เงินจากธนาคารไทย 70,000 บาท
วันที่ 31 จ่ายเงินเดือนให้คนงาน 30,000 บาท

     รายการที่บันทึกบัญชีลงสมุดรายวันจะเป็น   
วัน/เดือน/ปี
รายการ
เลขที่บัญชี
เดบิต
เครดิต
จำนวน
จำนวน
1 ม.ค. 59
เงินสด
101
     50,000.00
    -  



เงินฝากธนาคาร
102
     40,000.00
    -  



อาคาร
103
   450,000.00
    -  



อุปกรณ์ซ่อม
104
     60,000.00
    -  



     เจ้าหนี้
201


     50,000.00
    -  

     ทุน- นาย ก.
301


   550,000.00
    -  

นาย ก. นำสินทรัพย์และหนี้สินมาลงทุน



5 ม.ค. 59
อุปกรณ์ซ่อม
104
     10,000.00
    -  



     เจ้าหนี้ - ร้านอิเล็กทริค
201


     10,000.00
    -  

ซื้ออุปกรณ์ซ่อมเป็นเงินเชื่อ




8 ม.ค. 59
เงินสด
101
       5,000.00
    -  



     รายได้ค่าบริการ
401


       5,000.00
    -  

รับเงินสดเป็นค่าซ่อมโทรทัศน์




11 ม.ค. 59
ค่าเช่าอาคาร
501
     15,000.00
    -  



     เงินสด
101


     15,000.00
    -  

จ่ายเงินสดเป็นค่าเช่าอาคาร




14 ม.ค. 59
ลูกหนี้ - โรงเรียนทัศนะ
105
     40,000.00
    -  



     รายได้ค่าบริการ
401


     40,000.00
    -  

รายได้ค่าซ่อมพัดลมยังไม่ได้รับชำระ




18 ม.ค. 59
เงินสด
101
     40,000.00
    -  



     ลูกหนี้ - โรงเรียนทัศนะ
105


     40,000.00
    -  

รับชำระหนี้เป็นเงินสด





20 ม.ค. 59
เจ้าหนี้ - ร้านอิเล็กทริค
201
     10,000.00
    -  



     เงินสด
101


     10,000.00
    -  

จ่ายชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ซ่อมเป็นเงินสด




25 ม.ค. 59
เงินสด
101
     70,000.00
    -  



     เงินกู้ - ธนาคารไทย
202


     70,000.00
    -  

รับกู้เงินจากธนาคารไทย





31 ม.ค. 59
เงินเดือน
502
     30,000.00
    -  



     เงินสด
101


     30,000.00
    -  

จ่ายเงินเดือนให้คนงานเป็นเงินสด






เป็นยังไงบ้างค่ะ พอจะทำได้กันไหม? แนะนำให้หัดทำง่าย ๆ เพื่อจะได้จำได้และเข้าใจมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น