โพสต์แนะนำ

เตรียมตัวก่อนเข้าเรียนบัญชี

        เตรียมตัวก่อนเข้าเรียนบัญชี      ถ้าเราเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญแล้วอยากเรียนต่อระดับปริณญาตรีสาขาวิชาการบัญชี แต่กลัวเรีย...

วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

เพิ่มพื้นที่สีเขียว! กทม.ดัน “ปลูกต้นไม้ลดหย่อนภาษี”

     

     เมื่อวันที่ 3 เมษายน พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ครั้งที่ 11/2560 เรื่อง มาตรการจูงใจสำหรับภาคเอกชนในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ว่า สถานการณ์เรื่องมลภาวะในพื้นที่กรุงเทพมหานครกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ขณะนี้ข้อมูลพื้นที่สีเขียวขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ประชาชน 1 คน ต้องการพื้นที่สีเขียว 16 ตารางเมตร (ตร.ม.) แต่ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่า มีพื้นที่สีเขียวเพียง 3 ตร.ม.ต่อคน เท่านั้น โดยไม่ได้นับรวมกับจำนวนประชาการแฝง ซึ่งหากนับเพิ่มไปด้วยคงจะเป็นตัวเลขติดลบ กทม.จึงมีแนวคิดเพิ่มพื้นที่สีเขียว เบื้องต้นได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้บริหาร กทม.จัดตั้งคณะกรรมการ มี พล.อ.พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.เป็นประธาน และมีตัวแทนจากสำนักคลังและสำนักสิ่งแวดล้อมเป็นคณะกรรมการ ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบายการปลูกและดูแลต้นไม้พื้นที่กรุงเทพฯ

     พล.ต.ท.อำนวย แถลงอีกว่า สำหรับมาตรการจูงใจของภาคเอกชน คือ หากภาคเอกชนรายใดปลูกต้นไม้และสามารถสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นได้ ก็จะได้รับการลดหย่อนภาษีโรงเรือน โครงการดังกล่าวจะเสริมให้ พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พศ. …ที่คาดว่าจะบังคับใช้ได้ในปี 2562 โดยหากเอกชนรายใดที่มีพื้นที่รกร้างแล้วปล่อยทิ้งไว้ จะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมาก แต่หากใช้มาตรการดังกล่าวเสริม นอกจากจะเป็นการลดหย่อนภาษีได้แล้ว ต้นไม้ที่ปลูกยังสามารถประเมินให้เป็นทรัพย์สินสำหรับการออมได้ แต่ต้องดูแลพื้นที่ด้วย โดยสำนักงานเขตจะส่งเจ้าหน้าที่รุกขกรไปให้ความรู้ ซึงจะพิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการและนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

     “สำหรับอาคารสูงที่มีการกำหนดพื้นที่สีเขียวอยู่แล้ว จะไม่ได้รับการพิจารณาในโครงการดังกล่าว แต่หากมีการจัดทำพื้นที่สีเขียวเพิ่มนอกเหนือจากที่ระบุ ก็จะสามารถนำมาร่วมกับโครงการดังกล่าว โดยต้องพิจารณาในส่วนของรายละเอียดต่อไป ส่วนจำพวกพืชผักสวนครัวอยู่ในการพิจารณารายละเอียดว่าเข้าข่ายมาตรการหรือไม่พล.ต.ท.อำนวย กล่าว

ที่มา   มติชนออนไลน์

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

"เน็ตไอดอล" ทั้งหลาย...มีเงินได้เสียภาษีเงินได้อย่างไร

"เน็ตไอดอล" ทั้งหลาย...มีเงินได้เสียภาษีเงินได้อย่างไร มาดูกัน*********
Cr. ภาพจาก : เว็บไซต์กรมสรรพากร
รายได้จากการโชว์หรือ แสดงตัว กรณีนับเป็นรายได้แบบ 40 (2) กรณีไหนเป็นแบบ 40 (8) มาดู

นักแสดงสาธารณะ

เงินได้ของนักแสดงสาธารณะ มาจากการทำหน้าที่นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม *1 ซึ่งถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8

การหักค่าใช้จ่าย

เงินได้ของนักแสดงสาธารณะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ
  • หักตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) หรือ
  • หักเหมา 40-60% (ไม่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย)

ซึ่งการหักใช้จ่ายแบบเหมาแบ่งตามลำดับดังนี้

แต่เมื่อรวมค่าใช้จ่ายแบบเหมาทั้งหมดต้องไม่เกิน 600,000 บาท
นั่นหมายความว่าทันทีที่มีรายได้จากนักแสดงสาธารณะเกิน 1,350,000 บาทจะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้มากกว่า 600,000 บาท อีกแล้ว

อะไรเรียกว่านักแสดงสาธารณะได้บ้าง?

นักแสดงสาธารณะ ไม่ได้หมายถึงนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ หรือโทรทัศน์เท่านั้น ยังหมายความถึง นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม เช่น
  • นักแสดงละครเวที
  • ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์
  • นักแสดงตลก
  • นายแบบ นางแบบ
  • นักพูดรายการทอล์คโชว์
  • นักมวยอาชีพ
  • นักฟุตบอลอาชีพ
ซึ่งโดยมากรวมถึงการออกงานโชว์ตัวต่างๆ ที่ถูกหักภาษี 5% ตอนรับเงิน

อะไรบ้างไม่นับว่าเป็นนักแสดงสาธารณะ?

นักแสดงสาธารณะจะไม่รวมถึง ผู้ประกาศข่าว โฆษก พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการในสถานบันเทิงใดๆ ผู้บรรยายหรือนักพากย์ ผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดงสาธารณะ ผู้กำกับการแสดง ผู้จัดการทีมกีฬา ผู้ฝึกสอนนักกีฬา หรือ บุคคลที่ทำหน้าที่ทำนองเดียวกัน
นอกจากนี้เงินได้จากการเป็นพิธีกรในการเปิดตัวสินค้าใหม่จากบริษัทห้างร้านต่างๆก็ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ของนักแสดงสาธารณะด้วย 
ทั้งนี้ รายได้ที่ไม่จัดว่าเป็นนักแสดงสาธารณะโดยปกติจะถือว่ามาจากการรับจ้างทั่วไปในฐานะเงินได้ประเภทที่ 2

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พระราชกรณียกิจ(ร.9) : โครงการฝนหลวง

          เราทุกคนต่างทราบกันดีว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(ร.9) ทรงงานหนักมากในทุกๆ ด้าน เพื่อปวงชนชาวไทย แม้แต่นานาชาติต่างพากันยอมรับว่าพระองค์คือกษัตริย์ แม้พระองค์จะทรงเสด็จสวรรคตแล้ว แต่พระราชกรณียกิจของพระองค์จะยังอยู่เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎร์ชาวไทยต่อไป ทางบล็อกBasic Accountingขอน้อมนำ  พระราชกรณียกิจของพระองค์มาเผยแพร่เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุญาธิคุณของพระองค์

          โครงการฝนหลวง
             เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตรจึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป
การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย "สูตรร้อน" ใช้เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ, "สูตรเย็น" ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ขั้นตอนการทำฝนหลวง
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อให้กวน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการในขั้นตอนนี้มุ่งใช้สารเคมีกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ (มีค่า critical relative humidity ต่ำ) เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ (เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มก่อตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลมหรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมากในการปฏิบัติการ เพราะจะต้องเพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์การทำฝนควบคู่ไปพร้อมกันเพื่อตัดสินใจโปรยสารเคมีชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุลกับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย

ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องอาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน
เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง
1.               เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ในการตรวจวัดและศึกษาสภาพอากาศประกอบการวางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
1.1.      เครื่องวัดลมชั้นบน (pilot balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็วลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
1.2.      เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) เป็นเครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่าง ๆ
1.3.      เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและการเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
1.4.      เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็วและทิศทางลม เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
2.               เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่องบดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและแบบผง ถังและกรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
3.               เครื่องมือสื่อสาร ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบนเครื่องบินกับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐานปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐานปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่ายร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรมไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น
4.               เครื่องมือทางวิชาการอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้องส่องทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ ฯลฯ
5.               สถานีเรดาร์ฝนหลวง หรือ เรดาร์ดอปเปลอร์ (Doppler radar) ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น เรดาร์ดอปเปลอร์จัดเป็นเครื่องมือที่มีมูลค่าสูงสุด เรดาร์นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงสาธิต เครื่องมือชนิดนี้ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400) ควบคุมสั่งการ เก็บบันทึก รวบรวมข้อมูล สามารถนำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ในรูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่านโพรเซสเซอร์ (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทปบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดยจอภาพ สถานที่ตั้งเรดาร์ดอปเปลอร์นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ร่วมน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

“...สิ่งที่สูญเสียไม่ใช่เพียงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่...หากแต่สิ่งที่สูญเสียไปคือหัวใจของประชาชนทั้งประเทศ...”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

          จากเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร(รัชกาลที่ ๙) เสด็จสวรรคต ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระชนมพรรษา 89 ปี ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี
          รัชกาลที่ 9 ครองราชย์วันที่ 9 มิถุนายน ปี 2489 เมื่อพระชนมายุ 19 ทรงผนวช ปี 2499 เมื่อพระชนมายุ 29 สวรรคตพระชนมายุ 89
          แม้จะทรงสวรรคตแล้ว แต่สิ่งที่ทิ้งไว้ให้กับประชาชนของพระองค์นั้นคือความทรงจำที่ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทุ่มเทพระวรกายเพื่อความสุขของประชาชนทั้งแผ่นดิน
          ทางผู้เขียนเองอดไม่ได้ที่จะแสดงความรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้ง ในวินาทีแรกที่ทราบข่าวจนถึงวินาทีนี้ รู้สึกจุกจนพูดไม่ออก เราเกิดรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เห็นภาพที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งจนชิน จนรู้สึกว่าพระองค์ยิ่งใหญ่และอยู่เป็นนิรันดร์ ไม่เคยคิดเผื่อใจว่าถ้าวันนี้มาถึงเราจะรู้สึกอย่างไร จนเมื่อถึงวันนี้ไม่ได้รู้สึกว่าเสียพรราชา แต่กลับรู้สึกเหมือนสูญเสียพ่อบังเกิดเกล้า
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้มีบุญญาธิการโดยแท้จริง เพราะไม่ใช่เพียงได้เป็นพระราชา แต่ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ยึดครองหัวใจชองพสกนิกรชาวไทยได้ทั้งประเทศ
         พระองค์จะทรงอยู่ในใจของประชาชนชาวไทยตลอดไปเฉกเช่นเดียวกับที่โครงการในพระราชดำริของพระองค์ ทั้งโครงการฝนหลวง โครงการแก้มลิง โครงการเศรษฐกิจพอเพียง และในอีกหลายโครงการของพระองค์จะอยู่เพื่อช่วยเหลือบัดทุก บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรชาวไทยต่อไปอีกแสนนาน


 "ขอน้อมรำลึกพระมหากรุณธิคุณและร่วมถวายความอาลัยส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสู่สวรรคาลัย"
 ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม บล็อกเกอร์ Basic Accounting


เชิญร่วมลงชื่อเพื่อถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช



วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

แบบฟอร์ม สมุดรายวันและแยกประเภท

   
     บทนี้ฝากแบบฟอร์มสมุดรายวันและทำการไว้โหลดไปใช้ฝึกทำกันนะค่ะ

     คลิ๊กเพื่อโหลดแบบฟอร์มสมุดรายวัน


บริษัท............................................................
สมุดรายวัน
หน้า........./..........
วัน/เดือน/ปี
รายการ
เลขที่บัญชี
เดบิต
เครดิต
จำนวน
จำนวน



































































     คลิ๊กเพื่อแบบฟอร์มสมุดแยกประเภท


ชื่อบัญชี.....................................................
เลขที่..............................
พ.ศ...............
รายการ
หน้าบัญชี
เดบิต
พ.ศ...............
รายการ
หน้าบัญชี
เดบิต
เดือน
วันที่
บาท
สต.
เดือน
วันที่
บาท
สต.